assignment 4

จงอธิบายความเกี่ยวข้องดังต่อไปนี้

1. จงอธิบายแนวโน้มขอบเขตการสื่อสารในระบบอินเทอร์เน็ต

               แนวโน้มในปัจจุบันเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในการสื่อสารมีความเจริญเติบโตรวดเร็วเป็นอย่างมาก ทำให้มีจำนวนของผู้ใช้และจำนวนของเว็บไซต์มากขึ้นนับว่าเป็นส่วนที่สำคัญของระบบอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตได้กลายเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ครอบคลุมและแพร่หลายทั่วโลกเพราะว่ามีจำนวนของผู้ใช้มากมหาศาลและมีจำนวนของเว็บไซด์สำหรับการให้บริการทางอินเทอร์เน็ต  

                ผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตสามารถใช้บริการต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็น     ด้านการศึกษา เราสามารถใช้อินเทอร์เน็ตในการสืบค้น ค้นคว้าหาข้อมูล  อินเทอร์เน็ตยังช่วยอำนวยความสะดวกในด้านการรับส่งข่าวสาร เราสามารถรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail กับผู้ใช้คนอื่นๆ ทั่วโลก ในเวลาอันรวดเร็ว ในรูปแบบต่างๆ เช่น แฟ้มข้อมูล รูปภาพ ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ที่เป็นภาพและเสียงโดยเสียค่าใช้จ่ายต่ำมาก  และในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในด้านธุรกิจทางการค้าอิเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซ(e-commerce) ช่วยทำให้เกิดการความสัมพันธ์กับลูกค้าโดยตรง  ลูกค้าสามารถเลือกดูสินค้า สั่งซื้อ และจ่ายเงินด้วยบัตรเครดิตหรือตามเงื่อนไขของธุรกิจร้านค้านั้นๆ ได้ทันที นับว่าเป็นความสะดวกสบายและรวดเร็วมาก สินค้าก็มีจำหน่ายทุกประเภท และเปิดบริการตอลด 24 ชั่วโมง  อินเตอร์เน็ตยังมีอีกมากมายทั้งบริการด้านความบันเทิงและการพักผ่อนหย่อนใจ เช่น เลือกอ่านวารสารต่างๆ ผ่านอินเตอร์เน็ต จะดูหนัง ฟังเพลง ฯลฯ ก็สามารถค้นหาได้จากอินเทอร์เน็ต  จะเห็นได้ว่าการสื่อสารในระบบอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมากและแนวโน้มในอนาคตความก้าวหน้าของอินเทอร์เน็ตจะมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 

2. จงอธิบายแนวโน้มระบบสารสนเทศในชีวิตประจำวันที่เกี่ยวกับข้องกับอินเทอร์เน็ต

        แนวโน้มในอนาคตภายในครอบครัวจะมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวันกันมากขึ้น
เช่น โทรศัพท์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วีดิเท็กซ์ ไมโครคอมพิวเตอร์ ฯลฯ เทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีความสำคัญมากในปัจจุบัน และมีแนวโน้มมากยิ่งขึ้นในอนาคต เพราะเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานสารสนเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพนับตั้งแต่การผลิต การจัดเก็บ การประมวลผล การเรียกใช้ และการสื่อสารสารสนเทศรวมทั้งการแลกเปลี่ยนและใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่

      ขอบข่ายของเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นจะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์และกระบวนการหลายด้าน เช่น การสื่อสารระบบดาวเทียม เทคโนโลยีการจัดการฐานข้อมูล การจัดพิมพ์ระบบอิเล็กทรอนิกส์ การประมวลผลตัวเลข การประมวลผลภาพ คอมพิวเตอร์สำาหรับช่วยออกแบบและช่วยการผลิต (CAD/CAM) เป็นต้น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศจะประกอบด้วย
      -ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing System) เป็นระบบที่ทำหน้าที่ในการปฏิบัติงานประจำและทำาการบันทึกจัดเก็บ ประมวลผลที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน และให้สารสนเทศสรุปเบื้องต้นของการปฏิบัติงานประจำวันโดยมากจะนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาทำงานแทนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น
      -ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems) เป็นระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับกลาง เพื่อใช้ในการวางแผน บริหารจัดการและควบคุมงาน โดยทั่วไประบบนี้จะเชื่อมโยงข้อมูลที่อยู่ในระบบประมวลผลเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างสารสนเทศที่เหมาะสมและจำเป็นต่อการ
บริหารอย่างมีประสิทธิภาพ
      -ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) เป็นระบบที่ช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจสำหรับปัญหาที่อาจมีโครงสร้างหรือขั้นตอนการหาคำตอบที่แน่นอนตายตัวเพียงบางส่วนหรือเป็นกรณีเฉพาะ

 

3. จงอธิบายทิศทางความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต

            การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในคริสต์ศตวรรษที่21มีแนวโน้มที่จะพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มี ความสามารถใกล้เคียงกับมนุษย์ เช่น การเข้าภาษาสื่อสารของมนุษย์ โครงข่ายประสาทเทียม ระบบจำลอง ระบบเสมือนจริง โดยพยายามนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้นลดข้อผิดพลาดและป้องกันไม่ให้นำไป ใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องหรือผิดกฎหมาย

 แนวโน้มในด้านบวก  

  • การพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ช่องทางการดำเนินธุรกิจ เช่น การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การผ่อนคลายด้วยการดูหนัง ฟังเพลง และบันเทิงต่างๆ เกมออนไลน์ 
  • การพัฒนาให้คอมพิวเตอร์สามารถฟังและตอบเป็นภาษา พูดได้ อ่านตัวอักษรหรือลายมือเขียนได้ การแสดงผลของคอมพิวเตอร์ได้เสมือนจริง เป็นแบบสามมิติ และการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส เสมือนว่าได้อยู่ในที่นั้นจริง 
  • การพัฒนาระบบสารสนเทศ ฐานข้อมูล ฐานความรู้ เพื่อพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญและการจัดการความรู้  
  • การศึกษาตามอัธยาศัยด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) การเรียนการสอนด้วยระบบโทรศึกษา (tele-education) การค้นคว้าหาความรู้ได้ตลอด 24 ชั่วโมงจากห้องสมุดเสมือน     (virtual library) 
  • การพัฒนาเครือข่ายโทร คมนาคม ระบบการสื่อสารผ่านเครือข่ายไร้สาย เครือข่ายดาวเทียม ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทำให้สามารถค้นหาตำแหน่งได้อย่างแม่นยำ  
  • การบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายการสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ ดำเนินการของภาครัฐที่เรียกว่า รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-government) รวมทั้งระบบฐานข้อมูลประชาชน หรือ e-citizen 

แนวโน้มในด้านลบ  

  • ความผิดพลาดในการทำงานของระบบ คอมพิวเตอร์ ทั้งส่วนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่เกิดขึ้นจากการออกแบบและพัฒนา ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบและสูญเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหา 
  • การละเมิดลิขสิทธิ์ของทรัพย์สินทางปัญญา การทำสำเนาและลอกเลียนแบบ 
  • การก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ การโจรกรรมข้อมูล การล่วงละเมิด การก่อกวนระบบคอมพิวเตอร์  


4. จงอธิบายทิศทางการผสมผสานระหว่างมนุษย์,คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต

           ธรรมชาติของมนุษย์จำเป็นต้องอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม มีความจำเป็นที่จะติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ดังนั้นในยุคปัจจุบัน พัฒนาการทางด้านคอมพิวเตอร์จึงต้องตอบสนองต่อความต้องการ แรกเริ่มมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์แบบศูนย์รวม เช่น มินิคอมพิวเตอร์ หรือเมนเฟรม คอมพิวเตอร์แบบศูนย์รวม มีลักษณะดังนี้ • มีเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น มินิคอมพิวเตอร์ หรือ เมนเฟรม เป็นเครื่องศูนย์กลาง และต่อจอภาพหลายๆ ตัวเข้ากับเครื่องศูนย์กลาง สำหรับให้ผู้ใช้หลายคนเข้ามาเพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกัน • ให้ผู้ใช้สามารถใช้งานพร้อมกันได้หลายคน • ใช้ทรัพยากรร่วมกันที่เครื่องศูนย์กลาง เช่น CPU , หน่วยความจำ • การประมวลผลจะมีขึ้นที่เครื่องศูนย์กลางเท่านั้น ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาไมโครคอมพิวเตอร์ หรือ พีซี ขึ้นมา การใช้งานไมโครคอมพิวเตอร์ก็แพร่หลายอย่างรวดเร็ว เพราะใช้งานง่าย ราคาไม่สูง เมื่อมีการใช้งานไมโครคอมพิวเตอร์มากขึ้น ก็มีการปรับปรุงและพัฒนาให้สามารถทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มในรูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อตอบสนองความต้องการที่จะต้องติดต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างกัน เครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีลักษณะดังนี้ • มีการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น มินิคอมพิวเตอร์หรือเมนเฟรม มาเป็นเครื่องให้บริการ หรือที่เรียกว่า Server และให้ไมโครคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก เป็นเครื่องใช้บริการ หรือที่เรียกว่า Client • หรือ นำเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ มาเป็นเครื่องให้บริการ (Server) และให้ไมโครคอมพิวเตอร์อื่นๆ เป็นเครื่องใช้บริการ (Client) โดยต่อกันเป็นเครือข่าย • แต่ละเครื่องที่เป็น Client จะมี CPU และ หน่วยความจำ ของตัวเอง บทบาทสำคัญของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีต่อหน่วยงานต่างๆ สรุปได้ดังนี้ • ทำให้สามารถใช้ข้อมูลต่างๆ ร่วมกัน เช่นฐานข้อมูล • ทำให้สามารถใช้ทรัพยากรได้คุ้มค่า เช่น ใช้ตัวประมวลผล (CPU)ร่วมกัน ใช้เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์ที่มีราคาแพงร่วมกัน • ทำให้ลดต้นทุน เพราะการลงทุนสามารถลงทุนให้เหมาะสมกับหน่วยงานได้ • ทำให้เป็นสำนักงานอัตโนมัติได้ โดยสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ทันทีทันใด การสื่อสารส่งงานระหว่างกันใช้สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์แทนกระดาษได้ สามารถนัดหมาย โอนย้ายแฟ้มข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายได้ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ จำแนกตามระยะทางและพื้นที่ในการเดินทางของข้อมูลจากแหล่งที่ส่ง ไปสู่จุดหมายปลายทาง สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท 1. เครือข่ายแลน (LAN : Local Area Network) 2. เครือข่ายแวน (WAN : Wide Area Network คุณลักษณะของเครือข่ายแลน คือ • เป็นเครือข่ายระยะใกล้ หรือเครือข่ายท้องถิ่น • เป็นเครือข่ายที่ติดตั้งขึ้นเพื่อการใช้งานภายในแผนก หรือองค์กรของตัวเอง เช่น ในโรงเรียน มหาวิทยาลัย สถาบัน หรือในบริษัทแห่งใดแห่งหนึ่ง • วัตถุประสงค์เพื่อ สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกัน เช่น Hardware , Software , File และเพื่อการติดต่อระหว่างกันภายในองค์กร • ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย สร้างความสะดวกแก่ผู้ใช้ • คอมพิวเตอร์ที่ต่อกันเป็นเครือข่ายแลน สามารถต่อได้ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป เทคโนโลยีเครือข่ายแลน มีรูปแบบการเชื่อมต่อหลายรูปแบบ ดังนี้ 1. อีเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่พัฒนามาจากโครงสร้างการเชื่อมต่อแบบสายสัญญาณร่วมที่เรียกว่า บัส (Bus) ที่คอมฯทุกเครื่องต่อเชื่อมเข้ากับสายสัญญาณเส้นเดียวกัน ต่อมามีการพัฒนามาเป็นอีเทอร์เน็ต โดยพัฒนาระบบการรับส่งสัญญาณผ่านอุปกรณ์กลางที่เรียกว่า ฮับ (hub) ที่มีโครงสร้างเป็นจุดร่วมของสายสัญญาณที่จะต่อกระจายไปยังทุกสาย เกิดการชนกันของข้อมูลได้การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบนี้จึงมีลักษณะเป็นแบบดาว ความเร็วของการรับส่งสัญญาณตั้งแต่ 10 ถึง 100 ล้านบิตต่อวินาที 2. โทเก็นริง การเชื่อมโยงเครือข่ายใช้รูปแบบเชื่อมต่อกันเป็นวงแหวน โดยด้านหนึ่งเป็นตัวรับสัญญาณ และอีกด้านหนึ่งเป็นตัวส่งสัญญาณ การส่งข้อมูลถึงกัน จะส่งผ่านไปในทิศทางเดียวกันเหมือนวงแหวน มีการจัดลำดับการติดต่อส่งข้อมูลที่แน่นอน สัญญาณข้อมูลจะไม่ชนกัน ข้อมูลที่รับส่งกันมีลักษณะเป็นชุดๆ แต่ละชุดระบุตำแหน่งสถานีผู้ส่งและผู้รับ สถานีที่ถูกระบุว่าเป็นผู้รับเท่านั้นจึงจะมีสิทธิรับข้อมูลนั้นเข้ามา ความเร็วในการรับส่งสัญญาณประมาณ 16 ล้านบิตต่อวินาที 3. สวิตชิง • ชุดข้อมูลที่ส่งมาและส่งต่อไปยังสถานีปลายทางจะกระทำที่ชุมสายกลางที่เรียกว่า สวิตชิง ดังนั้นรูปแบบเครือข่ายจึงมีรูปโครงแบบดาว • การรับส่งข้อมูลระหว่างสถานี ทำได้รวดเร็ว • อุปกรณ์ที่ใช้ในการสวิชชิง เช่น อีเทอร์เน็ตสวิตช์ และ เอทีเอ็มสวิตช์ 3.1 อีเทอร์เน็ตสวิตช์ • เป็นอุปกรณ์สลับสายสัญญาณในเครือข่าย โดยรูปแบบสัญญาณเป็นแบบอีเทอร์เน็ต คือรับส่งสัญญาณข้อมูลทั้งหมดในทีเดียว • แตกต่างกับอีเทอร์เน็ตที่ใช้ฮับตรงที่ สวิตชิงจะเลือกการสลับสัญญาณไปยังตำแหน่งที่ต้องการเท่านั้น แต่ละสายสัญญาณมีความเป็นอิสระต่อกัน ทำให้ไม่มีปัญหาการชนกันของสัญญาณข้อมูล • ใช้มาตรฐานความเร็วเหมือนอีเทอร์เน็ต คือ 10 ถึง 100 ล้านบิตต่อวินาที 3.2 เอทีเอ็มสวิตช์ • เป็นอุปกรณ์สลับสายสัญญาณในการรับส่งข้อมูลที่มีการรับส่งกันเป็นชุดๆ แต่ละชุดเรียกว่าเซล ซึ่งมีขนาดจำกัด • การสวิตชิงแบบเอทีเอ็ม ทำให้ข้อมูลจากสถานีหนึ่งไปยังอีกสถานีหนึ่งดำเนินไปอย่างรวดเร็ว • กำลังเป็นที่นิยม เพราะมีความเร็วในการสลับสัญญาณสูง เครือข่ายแวน (WAN : Wide Area Network คุณลักษณะของเครือข่ายแวน คือ • เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในระยะไกล เช่น เชื่อมโยงระหว่างจังหวัด ระหว่างประเทศ • การสร้างเครือข่ายระยะไกล ต้องพึ่งพาระบบบริการข่ายสาธารณะ เช่น ใช้สายเช่าจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย • องค์กรที่ใช้เครือข่ายแวน ได้แก่ ธนาคาร ซึ่งมีสาขาทั่วประเทศ และมีบริการรับฝากถอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม • เครือข่ายแวน เป็นเครือข่ายที่ทำให้เครือข่ายแลนหลายๆ เครือข่ายเชื่อมถึงกันได้ แวนประกอบด้วนแลนตั้งแต่ 2 วงขึ้นไป เชื่อมต่อกัน อินทราเน็ต เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในองค์กร โดยใช้เครือข่ายท้องถิ่นที่เรียกว่า LAN อินเทอร์เน็ต เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายระดับองค์กรเข้ากับเครือข่ายภายนอกอื่นๆ จนกลายเป็นเครือข่ายใหญ่ระดับโลก อินทราเน็ตจะแตกต่างจากอินเทอร์เน็ตตรงที่ ขอบเขตของการเชื่อมโยง แต่มาตรฐานและวิธีการเชื่อมโยงเครือข่ายยังคงใช้มาตรฐานเดียวกัน บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต • ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Mail หรือ E-mail) เป็นบริการที่ผู้ใช้บริการสามารถรับส่งข้อความผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้รับ • การถ่ายโอนแฟ้ม (File Transfer Protocol :FTP) เป็นบริการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรมต่างๆ จากเครื่องอื่นมาเก็บไว้ยังเครื่องที่ต้องการ • กลุ่มข่าว (Newsgroup) เป็นบริการที่รวมกลุ่มของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกันเพื่อส่งข่าว และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องที่สนใจนั้น • การเข้าใช้เครื่องระยะไกล (Remote Login) คือการที่ผู้ใช้สามารถติดต่อขอเข้าไปใช้ทรัพยากรหรือขอใช้บริการกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลได้ เสมือนได้นั่งอยู่ที่หน้าเทอร์มินัลของเครื่องนั้นๆ • การค้นหาแฟ้ม เนื่องจากอินเตอร์เน็ตเป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ครองคลุมทั่วโลก ดังนั้นจึงมีการพัฒนาระบบ อาร์คี (Archie) ที่ช่วยในการค้นหาแฟ้มที่เราทราบชื่อแต่ไม่ทราบว่าอยู่ที่เครื่องใดในอินเตอร์เน็ต • การสนทนาทางเครือข่าย เป็นบริการหนึ่งในอินเตอร์เน็ตโดยผู้ใช้ฝ่ายหนึ่งสามารถสนทนากับผู้ใช้อีกฝ่ายหนึ่ง มีการโต้ตอบกันทันทีได้โดยการพิมพ์ข้อความหรือใช้เสียง

       

ใส่ความเห็น